วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ ๑๑

ขั้นตอนการวิเคราะห์หลักสูตร
สืบเนื่องมาจากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในโรงเรียนเครือข่ายและโรงเรียนนำร่องตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 และในโรงเรียนทั่วไปตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 นั้น ครูหรือผู้เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการจัดทำ เอกสาร ตำรา หนังสือ คู่มือ สามารถ สร้างและใช้หลักสูตรสถานได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตรและวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
ในการดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตรนั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ศึกษาหลักการ จุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
2. ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. กำหนดผลการเรียนรู้รายปี/รายภาค
4. จัดทำคำอธิบายรายวิชา
5. จัดทำโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้
6. จัดทำหนังสือ/ตำราตามคำอธิบายรายวิชาที่ได้วิเคราะห์ไว้
การวิเคราะห์ผู้เรียน
 เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่า
ผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่
จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับ
ลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไป
และลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่ง
ได้แก่  อายุ  ระดับความรู้  สังคม  เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของ
ผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี
ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอน
สามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหา
ให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้  ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น
นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอน
และวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน
การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
ผู้สอนทุกคนจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเอง จากการเป็นผู้บอกความรู้ให้จบไป ในแต่ละครั้งที่เข้าสอน มาเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนกล่าวคือเป็นผู้กระตุ้น ส่งเสริมสนับสนุนจัดสิ่งเร้าและจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล การจัดกิจกรรมจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สร้างสรรค์ ศึกษาและค้นคว้า ได้ลงมือปฏิบัติจริง จนเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเองเป็นสาระความรู้ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้ามิใช่ความรู้ที่ได้รับจากครูผู้สอนแต่เพียงแหล่งเดียว ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยสนใจใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง รักการอ่าน รักการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long-life Education) และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man) ผู้สอนจึงต้องสอนวิธีการแสวงหาความรู้ (Learn how to learn) มากกว่า สอนตัวความรู้ สอนการคิดมากกว่าสอนให้ท่องจำ สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าเน้นที่เนื้อหาวิชาดังที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี (2541 : 72) ได้กล่าวไว้ว่า
การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
ปกติเทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
                         1.  การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
                         2.  การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ความรู้  ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะบางประการ โดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น  ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet  เป็นต้น
                         3.  การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบ การสื่อสาร 2 ทาง (Interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น

การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ

การจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 มุ่งให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
          การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.  เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
                   2.   เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริง ๆ
                   3.  เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
4.   ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
                   5.   เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆ ด้าน
                   6.  การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
                   7.  เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง และครู

การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ รักการอ่าน การเขียน การคิด การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย  โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รักษ์สิ่งแวดล้อม ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นและสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
  การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) เป็นการทำวิจัยโดยครูผู้สอนในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์ของครู ถือได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานของครู ทั้งนี้ สุวิมล ว่องวาณิช (2550: 22) ได้นำเสนอลักษณะสำคัญของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไว้ ดังต่อไปนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น