วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ ๘
ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
          ศิริ พงษ์ (2547) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรม องค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้น แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
 
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
              แนว คิดของวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะต่างๆที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในองค์กร คือ วัฒนธรรมลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์กรการเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ วัฒนธรรมองค์กรการเปลี่ยนแปลง และ วัฒนธรรมองค์กรแห่งการตื่นรู้ ดังนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของวัฒนธรรมดังกล่าวข้างต้น ยังมีนักวิชาการที่มีการแบ่งรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรไว้หลายลักษณะ ซึ่งความสัมพันธ์และส่วนประกอบของวัฒนธรรมองค์กรทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน เหมือนกับบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล 


  แนวทางพัฒนาองค์การ
              การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure)  วิทยาการสมัยใหม่  (Technology)  ระบบงาน  (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล  



กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ             
          1.การธำรงรักษาหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นโดยกำหนดแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ          2.การกำหนดค่านิยมขององค์การให้ชัดเจน ซึ่งค่านิยมที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) และภารกิจหลัก (Mission) ขององค์การ          3.การพัฒนาองค์การโดยรวม เพราะองค์การที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานเช่นนี้มีส่วนทำให้คนในองค์การขาดความชัดเจนในทิศทางการบริหารงาน          4.การพัฒนาผู้นำให้มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ(Visionary Leadership) และตระหนักว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์การ

แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
           เนื่อง จากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการ สั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ
กิจกรรมที่ ๗
การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ       การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
       การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
       ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
๑.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
๒.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
๓.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 
๔.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
       ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
   บทบาทของการเป็นผู้นำของครูออกเป็น  ๓  ประเภท
๑.  ครูที่มีเผด็จการ  ลักษณะของครูเช่นนี้  จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
๒.  ครูที่มีความปล่อยปะละเลย  ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
๓.  ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย  ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น  และความต้องการของนักเรียน
กิจกรรมที่ ๖
ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖0 พรรษา หน้า ๓๑๑๓๑๗

                สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔) เช่น
 ๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
               มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
               มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
                - ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
                - ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
                - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
                - พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
                - พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
                - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
                - รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
                - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
                - แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
                - สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

                ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้อง  ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
                - จรรยาบรรณต่อตนเอง
                - จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                - จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อสังคม

                พื้นฐานและแนวคิด
          โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ คือ
                - เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
                - เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
                - เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
          มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
                - สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
                - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                - สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน
สรุปมาตรฐานวิชาชีพครู
            แนวทางการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะการควบคุมและรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพเป็นเรื่องที่เพิ่มจะกำหนดให้มีการดำเนินงานครั้งแรกในวิชาชีพครูโดยกำหนดให้มีการกำหนมาตรฐานวิชาชีพออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
                มาตรฐานวิชาชีพครูเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูโดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครูตาม พ...ครู พ..2488ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ
                1.  มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
                2.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
                3.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน               
           
             การนำไปประยุกต์ใช้
1. จัดการเรียนการสอน
2. จัดสาระการเรียนรู้
3. จัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน
4. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์
5.  จัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
6. จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ
7. จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
8. จัดการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
9. จัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไป
10. จัดทำสาระ ของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชน และสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์
11. ร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน
องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
12. พัฒนากระบวนการเรียนการสอน ที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการวิจัย เพื่อพัฒนาการ
เรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แต่ละระดับการศึกษา
               13.  พัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อกาศึกษาของผู้เรียน
               14. ปฏิบัติงาน และประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
กิจกรรมที่ ๕
 
     สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ       สิ่งที่ได้รับ  คือ  แนวคิดของการเป็นครูที่ดีที่จะสามารถนำไปพัฒนานักเรียน  สังคมและประเทศชาติได้ต่อไป  ในบทความนี้จะสามารถทำให้ทราบถึงต้นแบบที่ดีที่จะอยุ่ในฐานะเป็นแม่แบบและในฐานะเป็นแรงบันดาลใจ  ซึ่งคนที่ได้พบได้เห็นและได้ฟังจะสามารถรับรู้ได้ว่านี้คือแม่แบบที่ดีของตนเอง   
       จากบทความเราสามารถทราบได้ถึงปัญหาสังคมได้ว่าเยาวชนในปัจจุบันที่พฟติกรรมเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี จะมีผลมาจากต้นแบบที่อยู่ใกล้ต้วเองมาที่สุดซึ่งมาจาก  พ่อแม่ ครูหรือผู้ที่มีอิทธิพลกับเด็กซึ่งทำให้เด็กอาจจะเกิดความสับสนว่าสิ่งใดดี  สิ่งใดไม่ดี จนเกิดเป็นปัญหาสังคมขึ้นมาได้  จนทำให้บทความนี้มีนัยบอกว่า  คนที่จะสามารถเป้นต้นแบบที่ดีและมีวิญญานที่จะเป็นต้นแบบได้ดีที่สุด คือ  ครู ที่จะอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย และปราถนาดีต่อลูกศิษย์ทุกคน  และเป็นต้นแบบที่ดีของนักเรียนเสมอมา

ประโยชน์ที่จะนำไปพัฒนาตนเองจากบทความ
       1.  ทำให้ทราบถึงว่าความเป็นครูจะต้องมีความอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย  และปราถนาดีต่อลูกศิาย์เสมอ  ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตของความเป้นครูต่อไปได้
       2.  ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของครู
       3.  ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของแม่
      
กิจกรรมที่ ๔

สรุปได้ดังนี้ คือ
     ๑. การเป็นผู้นำที่ดีต้องรุ้จักเปิดใจกว้างในการทำงาน
    ๒. มีความคิดและทัศนะคติในเชิงบวก
     ๓. เป็นผู้ที่รู้จักยอมรับการเปลี่ยนแปลง
    ๔. มีความกล้าในการเปลี่ยนแปลง
     ๕. มีความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน
     ๖. กล้าคิดกล้าทำในสิ่งใหม่ๆ
    ๗. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
     ๘. มีความกล้าในการแสดงความคิดเห็น
    ๙. มีความเป็นธรรม
   ๑๑. มทีความสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนแปลง    

ซึ่งถ้าผู้นำนั้นสามารถทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ผมคิดว่าก็น่าจะทำให้องค์กรนั้นๆมีคุณภาพ และที่สำคัญคือทำให้คนที่ร่วมงานนั้นมีความสุขอีกด้วย

กิจกรรมที่ ๓
ประวัติ คนสำคัญของโลก
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

          พ่อฮิตเลอร์เป็นคนที่เข้มงวดมาก และนิยมใช้ความรุนแรงลงโทษหากลูกไม่เชื่อฟัง ฮิตเลอร์จึงเป็นเด็กเรียนดีในตอนต้น เพื่อนๆยกย่องให้เป็นผู้นำ ทั้งยังเคร่งศาสนาจนใครๆคิดว่าโตขึ้นมาจะเป็นนักบวช

          แต่พอขึ้นเรียนชั้นสูงขึ้น วิชาต่างๆก็เริ่มยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสอบไม่ได้ที่ 1 พ่อเริ่มเกรี้ยวกราดเพราะกลัวลูกจะเข้ารับราชการไม่ได้ ส่วนเพื่อนๆก็เริ่มไม่ปลื้มให้เป็นหัวหน้า ความกดดันต่างๆทำให้ฮิตเลอร์เบี่ยงไปสนใจการต่อสู้

          ครูชั้นมัธยมฯ คนเดียวที่ฮิตเลอร์ชื่นชอบคือ ลีโอโพลด์ พอตช์ ซึ่งเป็นคนนิยมความสำเร็จของเยอรมนี จึงมักเล่าถึงชัยชนะต่างๆของเยอรมันเหนือฝรั่งเศส ในศึกปี ค.ศ.1870-1871 และต่อว่าออสเตรียว่าไม่ยอมเข้าร่วมกับเยอรมนี ฮิตเลอร์พานชอบเยอรมันไปด้วยโดยมี ออตโต วอน บิสมาร์ก นายกรัฐมนตรีของอาณาจักรเยอรมนี เป็นฮีโร่ในดวงใจ

          สำหรับวิชาที่ฮิตเลอร์สนใจมากอีกวิชาคือศิลปะ ซึ่งทำให้ทะเลาะรุนแรงกับพ่อเพราะไม่เห็นด้วยเลยที่จะให้ลูกเป็นศิลปิน ศึกพ่อลูกสิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1903 เมื่อพ่อฮิตเลอร์เสียชีวิต ตอนนั้นครอบครัวไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากทางการเงิน แต่ฮิตเลอร์ยังคงไม่รักเรียนเช่นเดิมจนแม่ยอมให้ออกจากโรงเรียน

          ต่อมาในช่วงอายุ 18 ปี ฮิตเลอร์ได้รับมรดกของพ่อ และใช้เงินเดินทางไปกรุงเวียนนาหวังว่าจะไปเรียนวิชาศิลปะที่นั่น ฮิตเลอร์คิดว่าตนเองมีความสามารถทางศิลปะที่เหนือชั้น แต่พอไปถึงจริงกลับถูกสถาบันวิชาการศิลปะเวียนนาปฏิเสธใบสมัคร จากนั้นจึงย้ายไปสมัครที่โรงเรียนสถาปัตยกรรมแต่ไม่ได้อีก เพราะไม่มีใบรับรองจากโรงเรียนเก่า

          หลังจากฮิตเลอร์ย้ายจากเมืองเบราเนาไปกรุงเวียนนา และเข้าเรียนศิลปะอย่างที่ใจหวังไม่ได้ ก็ไม่กล้าบอกแม่ว่าเกิดอะไรขึ้น แสร้งทำเป็นว่าเป็นนักเรียนศิลปะอยู่ที่กรุงเวียนนาอย่างนั้น โดยใช้เงินบำนาญมรดกของพ่อดำรงชีวิตในเมืองหลวงอย่างสบาย วันๆก็นอนเล่นอ่านหนังสือ ตกบ่ายไปพิพิธภัณฑ์ศิลปะ

          จนกระทั่งปี ค.ศ.1907 แม่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง การเสียชีวิตของแม่ทำให้ฮิตเลอร์เสียใจสุดซึ้ง เพราะรักแม่มากกว่าพ่อ ตามประวัติศาสตร์ฮิตเลอร์ถือรูปแม่ไปทุกที่แม้กระทั่งวาระสุดท้ายรูปก็ยังอยู่ในมือ

          ในปี ค.ศ.1909 ซึ่งเป็นปีที่ควรเกณฑ์ทหาร ฮิตเลอร์กลับไม่ยอมรับใช้กองทัพออสเตรียของตัวเอง เพราะแค้นอยู่ลึกๆที่สถาบันการศึกษาออสเตรียไม่เปิดโอกาสให้เรียน

          นอกจากนี้ยังชื่นชมอาณาจักรเยอรมนีที่เหนือกว่าออสเตรียมาตั้งแต่เด็ก จึงไปเป็นอาสาสมัครในกองทัพเยอรมนี ขึ้นชื่อว่าเป็นทหารกล้าตาย สู้เลือดเดือด

          ช่วงเวลานี้ชีวิตของฮิตเลอร์มีทั้งขึ้นและลง หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ฮิตเลอร์ย้ายไปอยู่มิวนิกและเริ่มชีวิตทางการเมือง ซึ่งล้มลุกคลุกคลานอยู่นาน

          จนกระทั่งปี ค.ศ.1921 ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคนาซี มีนโยบายต่อต้านชาวยิวและผู้นิยมลัทธิสังคมนิยม

          ในปี 1933 ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและหนึ่งปีถัดจากนั้นตั้งตนเป็นเผด็จการสมบูรณ์แบบ สร้างกองทัพยึดคืนแคว้นไรน์

          และในปี 1936 ร่วมมือกับเผด็จการมุสโสลินีของอิตาลีบุกยึดออสเตรีย ชาติเกิดของตนเอง ตามด้วยเชโกสโลวะเกีย
สำหรับเชโกฯ นั้นบุกยากกว่าออสเตรีย เพราะมีฝรั่งเศสเป็นพันธมิตร ทางด้านอังกฤษจึงเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยแบ่งพื้นที่บางส่วนของเชโกฯ ให้เยอรมัน แต่ภายหลังถูกฮิตเลอร์หักหลังเข้ายึดทั้งประเทศ ทำให้อังกฤษอับอายมาก

          ด้วยความที่ได้คืบจะเอาศอก ฮิตเลอร์ลุยต่อไปที่โปแลนด์ คราวนี้อังกฤษกับฝรั่งเศสไม่ยอมอีกแล้ว วันที่ 3 ก.ย. 1939 จึงประกาศสงครามโลกครั้งที่ 2 กับเยอรมัน ฝ่ายพันธมิตรและอักษะสู้รบกันอยู่นานถึงปี 1945 ฝ่ายอักษะพ่ายแพ้

          ฮิตเล่อร์ยิงตัวตายที่ Fuhrerbunkerเมื่อวันที่ 30เมษายน ปี ค.ศ. 1945 พร้อมกับภรรยาที่พึ่งเข้าพิธีแต่งงานกัน คือ อีวา บราวน์ (Eva Braun) หลังการยิงตัวตาย ศพของทั้งคู่ถูกนำออกไปด้านนอกที่พัก ราดด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงและจุดไฟเผา

          ศพของฮิตเล่อร์ตัวปลอม
ถูกพบที่เบอร์ลิน ในปี ค.ศ. 1945 ปีเดียวกันกับที่ฮิตเล่อร์ยิงตัวตาย ศพนี้ถูกพบโดยบังเอิญโดยทหารรัสเซีย ในเมืองเบอร์ลินและถูกสันนิฐานว่าเป็นศพของอดอฟ ฮิตเล่อร์ผู้นำเยอรมัน แต่ในความเป็นจริง เป็นศพของ Gustav Weler ตัวปลอม (body double) ของฮิตเล่อร์ โดยเขาถูกยิงเข้าที่หน้าผากทำให้เสียชีวิตกระดูกของฮิตเล่อร์

          กระดูกดังกล่าวถูกเก็บไว้ในกล่องกระดาษที่ห้องเก็บเอกสารของรัฐ ของประเทศรัสเซีย ณ. กรุงมอสโคว์ ที่ซึ่งกระดูกถูกย้ายมาเก็บไว้หลังจากเยอรมันแพ้สงครามและกองทัพรัสเซียเข้ายึดกรุงเบอร์ลิน กระดูกเหล่านี้เชื่อกันว่าเป็นกระดูกที่เหลือหลังจากศพฮิตเล่อร์ถูกเผา ฮิตเล่อร์ เมื่ออายุได้ 50 ปี เสียชีวิตจากบาดแผลจากการยิงตัวตาย

          สวัสติกะ ชื่อนี้มาติดตา ติดหู ติดใจและเป็นที่รับรู้กันอย่างแพร่หลายเมื่อครั้ง ?อดอล์ฟ ฮิตเลอร์? นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ จากนั้นมา ?สวัสติกะ? จึงกลาย เป็นสัญลักษณ์แห่งความน่าสะพรึงกลัว การเข่นฆ่า และสงคราม

          แท้จริงแล้ว สวัสติกะ เป็นเครื่องหมาย เก่าแก่ มีความเป็นมาที่ยาวนานไม่ต่ำกว่า 3,000 ปีก่อนพุทธกาลเสียอีก มีการค้นพบ สวัสติกะตั้งแต่สมัยโรมันโบราณ ทางแถบอเมริกา

          มีการค้นพบสัญลักษณ์นี้ถูกใช้ ในเผ่ามายา ของเม็กซิโก และพวกอินเดียนแดง ถือเป็นเครื่องหมายแห่งโชค ชีวิต แสงสว่าง และความรัก

          สวัสติกะ ถือเป็นเครื่องหมายแห่งพลังอำนาจ ดังนั้นสมัยที่ ฮิตเลอร์เข้ามามีอำนาจในช่วงปี1927 จึงนำเครื่องหมายนี้ไปใช้

          แต่ในความเชื่อของทางบาบิโลน การหันทางซ้ายของสวัสติหมายถึง การมุ่งทำลายล้าง และปิศาจ ซึ่งแทนความหมายของสิ่งเลวร้าย ส่วนทางด้านขวาแทนสิ่งที่ดีหรือพลังอำนาจ ซึ่งฮิตเลอร์ก็ได้ใช้สัญลักษณ์ที่หันทางด้านขวา

          มีข้อสันนิษฐานถึงการที่ฮิตเลอร์นำเครื่องหมายสวัสติกะมาดัดแปลงใช้นั้น ซึ่ง มีทั้งมาจากหนังสือเกี่ยวกับอเมริกันอินเดียน ของคาร์ล เมย์ (Karl May) ที่ฮิตเลอร์ชอบอ่าน กับอีกทางหนึ่งซึ่งมีความน่าจะเป็นสูง นั่นคืออิทธิพลจากการฝึกสมาธิแบบธิเบตของกองกำลังทหาร ซึ่งมีการนำเครื่องหมาย นี้มาจากทางธิเบต โดยคาร์ล ฮูชอฟ ( Karl Haushofer) คนสนิทฮิตเลอร์ ที่มีความสนใจทางด้านการทำสมาธิ และใกล้ชิดกับธิเบต ได้นำเอาแนวทางด้านสมาธิของทิเบตมาใช้ฝึกกองกำลังทหาร ให้มีจิตใจที่แกร่ง มุ่งมั่นและมีความกล้าหาญ อีกทั้งได้รับอิทธิพลด้านการเรียนเกี่ยวกับสมาธิแบบธิเบต จากจอร์ อีวานโนวิช กรุดแจฟ (George Ivanovitch Gurdjieff) ซึ่งเป็นคุรุทางจิตวิญญาณคนหนึ่งของรัสเซีย ที่ X วชาญด้านการฝึกสมาธิ และเป็นผู้หนึ่งที่ใกล้ชิดอย่างมากกับดาไล ลามะ ผู้นำทิเบต
กิจกรรมที่ ๒
     ศึกษาทฤษฎีและหลักการ(เจ้าของทฤษฎี)
ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา     ระยะที่ ๑ ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๘๗ – ๑๙๔๕ (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, ๒๕๔๒: ๑๐) ยุคนักทฤษฎี

การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น กลุ่มดังนี้
         .กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของ
เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ อย่างคือ
                    ๑.๑ เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
                    ๑.๒ ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
                    ๑.๓ หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
        เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย หลักการดังนี้
                      ๑. การแบ่งงาน (Division of Labors)
                      ๒. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
                      ๓. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
         ๒. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี
ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor
จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, ๑๕๔๒: ๑๗)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป ๑๔ ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
                   ๒.๑ หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
                   ๒.๒ หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
                    ๒.๓ หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
                    ๒.๔ หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
                    ๒.๕ การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
                    ๒.๗ หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
                    ๒.๘ หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
         . ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
                    ๓.๑ หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
                    ๓.๒ การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
                    ๓.๓ การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
                    ๓.๔ การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
                    ๓.๕ มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
              จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
    ระยะที่ ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๕ – ๑๙๕๘ (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, ๒๕๔๒: ๑๐) ยุคทฤษฎี
มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ
การแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ ๓ แนวทางดังนี้
              ๑. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
              ๒. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
              ๓. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง ทาง
ระยะที่  ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๕๘– ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, ๑๕๔๒: ๑๑) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
        ๑.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
        ๒.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น

        ๓.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,
Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
                    ๑. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    ๒. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    ๓. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                   ๔. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    ๕. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
              ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    ๑. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    ๒. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    ๓. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    ๔. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
        ๔.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
     นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
     สามารถนำไปใช้ในด้านการเข้าใจคน  เข้าใจการพัฒนาของมนุษย์  ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในด้านการเรียน การเข้าสังคม  การมีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นๆ  การพัฒนาการคิดให้มีระบบโดยที่สามารถใช้ได้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ที่มา  http://www.kru-itth.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=420816&Ntype=6
กิจกรรมที่ ๑
     การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน  การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัยในชั้นเรียน  ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู  และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน  เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
     การบริหารการศึกษา   หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่
ประวัติส่วนตัว
     ดิฉันนางสาวสุปราณี หมัดหมัน ชื่อเล่นหนูณี มีพี่น้องทั้งหมดสามคน มีพี่สาวจบจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงฯ คณะรัตศาสตร์ มีน้องชายตอนกำลังศึกษาอยู่เทคโนบางกะปิ  ที่บ้านของดิฉํนมีอาชีพค้าขายเป็นธุรกิจส่วนตัวในครอบครัวและที่สำคัญทุกคนจะช่วยกันทำงาน
ประวัติการศึกษา
     ดิฉันจบประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านลาเวง จังหวัดนราธิวาส
     จบมัธยมตอนต้นจากกศน.๓ กรุงเทพฯ
     จบมัธยมปลายจากกศน.วัดเทพลีลากรุงเทพฯ
     ตอนนี้ศึกษาอยู่ราชภัฏนครศรีธรรมราช
ปรัชญาของนักศึกษา
     รู้หน้าที่ ภักดี ต่อภาระ
รู้กาละ เทศะ อันควรค่า
ทำสิ่งได ไตรตรอง ด้วยปัญญา
จำเริญตา ผาสุข สู่กายใจ